ภาษาไทย
ENG
繁體
Tiếng Việt

ความเป็นมาของ NIKKOR

ที่มาแห่งตำนาน "สามมังกรผู้ยิ่งใหญ่"

ไม่มีใครจำได้ว่าใครเป็นผู้เรียกชื่อนี้เป็นคนแรก แต่เมื่อได้ยินคำเรียกขานนี้ ผู้คนมักจะนึกถึงเลนส์ซูมมุมกว้าง เลนส์ซูมมาตรฐาน และเลนส์ซูมเทเลโฟโต้ รูรับแสงคงที่ f/2.8 แม้ว่าต้นตระกูลของเลนส์ซูมรูรับแสงคงที่ f/2.8 จะเป็นเลนส์ 80-200mm f/2.8 ที่เปิดตัวในยุครุ่งเรืองของกล้องแมนนวลในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 (พ.ศ. 2523 – 2533) เช่นเดียวกับคำกล่าวที่ว่ายุคของออโต้โฟกัสเป็นยุคของการซูม เราจึงได้เริ่มเห็นพัฒนาการของเลนส์ซูมปกติ ที่ไม่ใช่แค่เลนส์เทเลโฟโต้ในช่วงทศวรรษที่ 1990 (พ.ศ. 2533 – 2543) ทั้งนี้ เริ่มต้นจากเลนส์ซูมมาตรฐาน AF Zoom NIKKOR 35-70mm f/2.8 ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นในพ.ศ. 2530 โดยนักออกแบบเลนส์คิโยทากะ อีนาโดเมะ ผู้ชื่นชอบการดื่มเป็นชีวิตจิตใจ เลนส์นี้โด่งดังในเรื่องรูปลักษณ์ที่ดูเจนจัด อาทิ ชุดเลนส์ปกติที่ประกอบไปด้วยชุดเลนส์เว้าทางยาวโฟกัสคงที่ชุดที่สามเพิ่มต่อเข้ามากับชุดเลนส์ที่สองและสี่ซึ่งเป็นเลนส์นูน

เช่นเดียวกับการใช้ชุดเลนส์เว้า-นูน-เว้าแทนการใช้ชิ้นเลนส์แบบกระจายแสงต่ำพิเศษ (ED) ต่อมาในปี 2531 มีการเปิดตัวเลนส์ซูมเทเลโฟโต้รุ่นยอดนิยม AF Zoom NIKKOR ED 80-200mm f/2.8S เลนส์นี้เป็นเลนส์ชนิดซูมสี่ชุดพร้อมชุดเลนส์นูน ซึ่งเป็นการพัฒนาตามรูปแบบของเลนส์ซูมเทเลโฟโต้มาตรฐานของยุคโฟกัสแบบแมนนวล อย่างรุ่น 80-200mm f/4.5 และ 80-200mm f/4 เลนส์รุ่นที่ตามมาคือ AF Zoom NIKKOR 20-35mm f/2.8D(IF) ในปี 2536 ซึงเป็นการปิดท้ายชุดเลนส์ซูมรูรับแสงคงที่ f/2.8 "สามมังกรผู้ยิ่งใหญ่" ได้อย่างสมบูรณ์และลงตัว

แม้ว่าเลนส์เหล่านี้จะใช้ระบบโฟกัสภายในที่แบ่งออกเป็นสองชุด แต่ความสามารถในการซูมโดยไม่ต้องใช้กลไกภายในที่สลับซับซ้อนช่วยให้การโฟกัสมีความเคลื่อนไหวลดน้อยลง คุณลักษณะที่สำคัญนี้ได้กลายมาเป็นมาตรฐานของนิคอนที่ถูกนำมาใช้กับเลนส์ซูมมุมกว้าง และเลนส์มาตรฐานปกติแทบจะทุกรุ่น ชิ้นเลนส์ขนาดใหญ่พื้นผิวโค้งนั้นได้รับการเจียระไนเพื่อให้ได้ภาพซูมมุมกว้างที่มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

วิวัฒนาการสู่ยุคที่สองของ "สามมังกรผู้ยิ่งใหญ่" กลไกมอเตอร์ Ultrasonic

สิ่งที่ขับเคลื่อนระบบออโต้โฟกัสของ "สามมังกรผู้ยิ่งใหญ่" ในยุคถัดมาคือระบบ SWM คลื่นความถี่สูง โดยมีเลนส์ AF-S Zoom NIKKOR ED 17-35mm f/2.8D(IF) และเลนส์ AF-S Zoom Nikkor ED 28-70mm f/2.8D(IF) ที่ได้เปิดตัวไปในปี 2542 แม้ว่าเวลาจะผ่านไป แต่แนวคิดยังคงไว้เหมือนเดิม เลนส์ทั้งสองนี้เป็นต้นกำเนิดของเลนส์ผิวโค้งด้วย Precision Glass Mold (PGM) ที่มีรายละเอียดปราณีตและเป็นองค์ประกอบสำคัญของเลนส์ NIKKOR ในรุ่นต่อๆ มา โดยในยุคนี้ได้มีการแตกยอดออกมาเป็นประเภทเลนส์ซูมมุมกว้าง และปิดท้ายด้วยเลนส์เทเลโฟโต้ AF-S VR Zoom-Nikkor ED 70-200mm f/2.8G(IF) (พ.ศ. 2546)

สู่ยุคที่สามกับการเคลือบผิวด้วยนาโนคริสตัล รองรับระดับความละเอียดสูง

ยุคที่สามของ "สามมังกรผู้ยิ่งใหญ่" กับการใช้ PGM ที่ได้รับการพัฒนาให้มีขนาดใหญ่และมีความถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับที่ได้มีการเคลือบผิวด้วยนาโนคริสตัลใหม่ที่ให้การสะท้อนต่ำ รองรับการมาถึงของยุคแห่งกล้องดิจิตอลที่มีความละเอียดสูง เลนส์ในยุคนี้ประกอบไปด้วย เลนส์ AF-S NIKKOR 14-24mm f/2.8G ED เลนส์ AF-S NIKKOR 24-70mm f/2.8G ED (ทั้งคู่เปิดตัวในปี 2550)รวมไปถึงเลนส์ AF-S NIKKOR 70-200mm f/2.8G ED VR II (ปี 2552) อันเป็นรุ่นที่สร้างมาตรฐานใหม่ในความทรงประสิทธิภาพ เลนส์ในยุคที่สามนี้ทุกตัวได้รับการตรวจสอบโดย MTF ก่อนส่งออกสู่ท้องตลาด และมักเป็นรุ่นที่ถูกนำมาใช้กับกล้องดิจิตอลเอสแอลอาร์ในตระกูล D3 ที่โด่งดัง เพื่อการเก็บบันทึกช่วงเวลาอันทรงคุณค่าลงบนภาพถ่ายแทนความทรงจำ

"สามมังกรน้อย" ขนาดกะทัดรัด

นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมีเลนส์ AF-S NIKKOR 16-35mm f/4G ED VR เลนส์ AF-S 24-120mm f/4G ED VR และเลนส์ AF-S 70-200mm f/4G ED VR เลนส์สามสหายที่มอบความเร็วแรงแบบไม่มียั้ง เพื่อให้ก้าวทันกับความล้ำหน้าและวิทยาการของการถ่ายภาพ จนได้สมญานามว่า "สามมังกรน้อย" ด้วยการเป็นเลนส์รูรับแสง f/4 มันมีประสิทธิภาพการทำงานที่เทียบเท่ากับ "สามมังกรผู้ยิ่งใหญ่" และเป็นส่วนหนึ่งของยุคดิจิตอลใหม่ที่มาพร้อมระบบลดความสั่นไหว และการเคลือบผิวด้วยนาโนคริสตัล

เลนส์ AF-S DX VR Zoom-Nikkor 18-200mm f/3.5-5.6G IF-ED ซูม 11 เท่า เลนส์ประสิทธิภาพเหนือชั้นรุ่นแรกของโลก

NIKKOR ก้าวล้ำเสมอในเรื่องเลนส์ซูมทรงพลัง เริ่มจากเลนส์ 35-200mm f/3.5-4.5 ซูม 5.7 เท่า ที่เปิดตัวเป็นรายแรกก่อนคู่แข่งทั้งหลายในปี 2528 จากนั้น เมื่อกระแสในตลาดโลกได้หันมาให้ความสนใจกับกล้องดิจิตอลเอสแอลอาร์ในปี 2549 นิคอนจึงได้เปลี่ยนแนวทางจากการพัฒนาเลนส์ซูมต่างๆ หลายช่วงที่ผู้คนเริ่มไม่ให้ความสำคัญแล้วมาเขย่าวงการด้วยการเปิดตัวเลนส์ AF-S DX VR Zoom-Nikkor 18-200mm f/3.5-5.6G IF-ED ที่มาพร้อมกับองค์ประกอบเลนส์ ED กลไก Silent Wave Motor (SWM) ระบบลดความสั่นไหว (VR) และประสิทธิภาพในการซูมถึง 11 เท่า เท่านั้นยังไม่พอ เลนส์นี้ยังมีระบบประมวลผลภาพที่ฉีกกฏเลนส์ซูมทรงพลังแบบดั้งเดิม

ผลที่เกิดขึ้นสร้างความประหลาดใจให้กับฝ่ายวางแผนงานที่คาดว่ายอดการผลิตหลักพันคงเพียงพอ แต่กลับเป็นว่ากระแสตอบรับดีเกินคาด ด้วยยองสูงเป็นประวัติการณ์ มียอดสินค้าสั่งจองถึง 40,000 ชิ้นเพียงชั่วเดือนเดียว จึงจำเป็นต้องมีการเพิ่มกำลังการผลิตโดยเร่งด่วน สาเหตุหลักที่ทำให้เลนส์นี้ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามก็คือการใช้เลนส์แอสเฟอริคัลที่มีประสิทธิภาพ การทำงานร่วมกันของชุดระบบลดความสั่นไหวและด้วยขนาดค่อนข้างใหญ่ พื้นผิวเลนส์แบบโค้งที่ใช้ในชุดเลนส์ลดความสั่นไหวถือได้ว่าเป็นคุณลักษณะที่โดดเด่นในตอนนั้นในการป้องกันการลดประสิทธิภาพเมื่อเลนส์มีการขยับเคลื่อนที่ซึ่งทุกวันนี้ไม่ได้เป็นปัญหาอีกต่อไป พื้นที่ภาพของเลนส์เป็นขนาด DX ซึ่งเล็กกว่า FX ขนาดเต็ม 35มม.(1/1.5 เท่า) แต่มันกลับเป็นความลงตัวอย่างสมบูรณ์แบบต่อประสิทธิภาพที่ดีเยี่ยมภายใต้กระบวนการผลิตที่ไม่ยุ่งยาก ซึ่งเป็นผลดีกับการตอบสนองต่อยอดจองสินค้าจำนวนมหาศาล